วันศุกร์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2556

การใช้เส้นค่าเฉลี่ย หรือ Moving Average

การใช้เส้นค่าเฉลี่ย หรือ Moving Average

แนะนำวิธีการใช้เส้นค่าเฉลี่ย หรือ Moving Average
นับ เป็นเครื่องมือสำคัญ เครื่องมือหนึ่งในการวิเคราะห์ทางเทคนิค โดยมีส่วนช่วยในการมองเห็นถึงแนวโน้มการเคลื่อนที่ของราคาหุ้น รวมถึงจุดที่เปลี่ยนแนวโน้ม เพื่อเป็นสัญญาณซื้อขาย รวมถึงแนวรับแนวต้าน ของราคาหุ้นในช่วงเวลาต่างๆ

ซึ่ง กลยุทธ์การลงทุนนั้น จะกำหนดเส้นค่าเฉลี่ย ในจำนวนวันที่แตกต่าง กัน ขึ้นอยู่กับ ระยะเวลาการลงทุนของแต่ละบุคคล หรือรอบการเคลื่อนที่ของหุ้นตัวนั้น ว่าการกำหนดด้วยเส้นค่าเฉลี่ยเท่าใด ที่น่าจะได้ผลตอบแทนสูงที่สุด
โดยเส้นค่าเฉลี่ยที่ใช้กันทั่วไปมีตั้งแต่
  5   วัน   (1 สัปดาห์)  ใช้สำหรับการลงทุนระยะสั้น
10   วัน  (2 สัปดาห์)   ใช้สำหรับการลงทุนระยะสั้น
25   วัน  (ประมาณ1 เดือน) ใช้สำหรับการลงทุนระยะค่อนข้างปานกลาง
75   วัน  (ประมาณ1 ไตรมาส) ใช้สำหรับการลงทุนระยะกลาง
200 วัน  (ประเมาณ 1 ปี)  ใช้สำหรับการลงทุนระยะยาว

ซึ่งจำนวนวันเหล่านี้จะเป็นตัวบอกถึงราคาต้นทุนเฉลี่ยของคนที่ถือหุ้นมาแล้วในช่วงระยะเวลา แตกต่างกันเช่น
ปัจจุบัน ราคาหุ้นยืนเหนือเส้นค่าเฉลี่ย 25วัน ดังนั้นจึงบอกได้ว่า มีคนที่ถือหุ้นในช่วง 25วันที่ผ่านมา หรือนักลงทุนระยะกลางที่ยอมถือหุ้นนานกว่า 1 เดือน มีต้นทุนต่ำกว่า ราคาปัจจุบัน  ซึ่งนักลงทุนเหล่านี้ ยังมองว่าหุ้นเป็นแนวโน้มขาขึ้นตราบที่ราคาหุ้นยังยืน เหนือเส้นค่าเฉลี่ย 25วัน

ดังนั้นการหาสัญญาณ ซื้อหรือขายหุ้นจากเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่


สัญญาณซื้อ คือ Buy ^

  • เมื่อราคาเคลื่อนขึ้น และทะลุผ่านเส้นค่าเฉลี่ยตามช่วงระยะเวลาต่างๆ เช่น  5วัน, 10 วัน
  • เส้นค่าเฉลี่ยระยะสั้น ตัดขึ้นเหนือเส้นค่าเฉลี่ยระยะยาว
     เรียกว่า (Golden cross)
สัญญาณขายคือ Sell v

  • เมื่อราคาเคลื่อนลงและทะลุผ่านเส้นค่าเฉลี่ยตามฤฤฉช่วงระยะเวลาต่างๆ เช่น  5วัน, 10 วัน
  •  เส้นค่าเฉลี่ยระยะสั้น ตัดลงต่ำกว่าเส้นค่าเฉลี่ยระยะยาว
        เรียกว่า (Dead cross)

       ดังในภาพจะเห็นว่า ดัชนี SET index ปรับตัวเหนือเส้นค่าเฉลี่ย  5 วัน (สีเขียว) 10วัน(สีแดง) และ 25วันสีฟ้า นับแต่ต้นเดือนเมษายน หรือ (4/2 จากตารางกราฟ) ซึ่งจะเห็นว่าเกิดแรงขายจากนักลงทุนระยะสั้น บางครั้งเมื่อหุ้นต่ำกว่า เส้นค่าเฉลี่ย 5วัน แต่เมื่อราคาถึงเส้นค่าเฉลี่ย 10วัน หุ้นจะสามารถเด้ง กลับได้หาก นักลงทุนระยะ 10วันยังมองว่า หุ้นยังอยู่ในแนวโน้มขาขึ้นอยู่ ดังนั้นเมื่อถึงระดับดังกล่าว จะมีแรงซื้อ ซ้ำเพราะราคาหุ้นยังถูกอยู่กว่าราคาในอนาคต    ส่วน นักลงทุนระยะกลาง เช่น 25วัน จะยังคงถือหุ้น ตราบที่ SET index ไม่หลุด 730 จุด ดังที่เห็นในกราฟเป็นต้น
   ซึ่งตัวอย่างนี้ แสดงให้เห็นว่าบางครั้ง การซื้อขายระยะสั้น ตามสัญญาณ 5 วัน และ 10วันอาจให้ผลตอบแทนน้อยกว่าการถือระยะยาวเป็นรอบ จากการดูเส้นค่าเฉลี่ยที่ยาวขึ้น แต่อย่างไร เส้นค่าเฉลี่ย ไม่มีกำหนดตายตัวว่า ค่าไหนดีที่สุด ขึ้นอยู่กับนิสัยหุ้นตัว นั้น สภาวะตลาดโดยรวม
    ดังนั้นกลยุทธ์การเลือกใช้ขึ้นอยู่กับ ระยะเวลาการถือครองหุ้น ซึ่งจะเป็นตัวเลือกด้วยการใช้เส้นค่าเฉลี่ยจาก จำนวนวันที่ต่างๆกัน แต่ ความแม่นยำ นั้นอาจขึ้นจากนิสัยของหุ้นตัวนั้น หรือ ผู้ที่ลงทุนในหุ้นตัวนั้นส่วนมาก เขาใช้เส้นค่าเฉลี่ยเท่าไหร และแบบใด
    ส่วนจุดอ่อนของการใช้เส้นค่าเฉลี่ย อาจเกิดขึ้นได้ หากหุ้นในช่วงนั้น เป็นลักษณะ Side way หรือแกว่งตัวในกรอบนานๆ อาจจะทำให้เส้นพันไป มา จึงเกิดทั้งสัญญาณหลอก ให้ ซื้อขาย ได้บ่อย  ก็ได้ ดังนั้น เส้นค่าเฉลี่ยนั้นจะเหมาะสำหรับการวิเคราะห์ในช่วงตลาดที่ มี Trend หรือแนวโน้ม
 ประเภทของเส้นค่าเฉลี่ย
ประเภท ของเส้นค่าเฉลี่ย มีด้วยกันหลายแบบ ซึ่ง ผู้ลงทุนอาจจะใช้ราคา เปิด หรือ ราคาปิด ราคาสูงสุด ราคาต่ำสุด หรือ ราคาเฉลี่ย มาเป็นตัวกำหนด สำหรับ การหาค่าเฉลี่ยก็ได้ ซึ่ง ส่วนใหญ่ที่ เราใช้อยู่ทั่วไป จะนำราคาปิดของหุ้นในแต่แท่งเทียน มาเป็นข้อมูลสำหรับการคำนวนค่าเฉลี่ย ดังเช่น

การหาเส้นค่าเฉลี่ย แบบธรรมดา (SMA, Simple Moving Average)
เส้นค่าเฉลี่ยแบบธรรมดา มาจากการหาค่าเฉลี่ยราคาหุ้น ในช่วงเวลาที่กำหนด เป็น N วัน
SMA คำนวณมาจาก
SMAt = 1/N(Pt+..........+Pt-N+1)
โดย P = ราคา
       T = วัน t
       N = จำนวนวันในค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่

 

ส่วนการหาเส้นค่าเฉลี่ย แบบ EMA (Exponential Moving Average)
   นั้นเป็นอีกรูปแบบหนึ่งของการหาค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก โดยการให้ความสำคัญกับค่าตัวหนึ่งที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของราคา และถ่วงน้ำหนักให้ค่าสุดท้ายมีความสำคัญเพิ่มขึ้น

 ซึ่ง วิธีนี้เป็นการพยายามแก้ไขข้อ บกพร่องที่เกิดขึ้นจากวิธี SMA กล่าวคือ EMA นั้น จะถ่วงน้ำหนักโดยให้ความสำคัญกับวันสุดท้ายมากที่สุด และจะเอาค่าทุก ๆ ค่ามาหาค่าเฉลี่ย โดยจะไม่ทิ้งข้อมูลเก่าที่ผ่านมา ซึ่งจะทำให้ค่าทุกค่าสะท้อนให้เห็นการเปลี่ยนแปลงของราคา
หลักการคำนวนคือ ขณะ ที่ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ตัวอื่น ๆ ให้ความสำคัญต่อคาบเวลา แต่ EMA จะให้ความสำคัญกับค่าตัวหนึ่งที่เรียกว่า SMOOTHING FACTOR (SF) หรือ SMOOTHING CONSTANT  โดยที่ SF = 2/(n+1) ซึ่งวิธีการสร้าง EMA มีสูตรการคำนวณคือ
 EMA   =   EMAt-1 + SF(Pt - EMAt-1)
 เมื่อ EMAt  คือ  ค่าของ Exponential Moving Average ณ เวลาปัจจุบัน
 EMAt-1   คือ  ค่าของ Exponential Moving Average ณ คาบเวลาก่อนหน้า
 SF  คือ  ค่าของ Smoothing Factor = 2/(n+1)
 Pt  คือ  ราคาปัจจุบัน
 n คือ  จำนวนวัน

*  หมายเหตุ : การคำนวณค่าเฉลี่ยของวันแรก จะใช้ราคาในวันแรกนั้นเป็น EMA
    ซึ่งทั้ง EMA และ SMA นักลงทุนในตลาดส่วนใหญ่ต่างก็จะเลือกใช้แบบใด แบบหนึ่ง จากทั้งสองแบบนี้ เพียงแต่ อาจจะขึ้นอยู่กับวิธีการวิเคราะห์
•     โดยการวิเคราะห์ แบบ SMA นั้นจะเห็นได้การเคลื่อนที่ของเส้นค่าเฉลี่ย มักจะช้ากว่า EMA ซึ่งการหาสัญญาณ ซื้อขายจากการตัดของเส้น EMA จะแม่นยำกว่า

•      ส่วนการวิเคราะห์แนวรับแนวต้านจากเส้นค่าเฉลี่ยนั้น SMA จะดีกว่า เนื่องจากเป็นการคำนวน ฐานต้นทุนของนักลงทุนที่แท้จริง จึงทำให้บ่อยครั้ง เป็นแนวรับแนวต้านที่สำคัญ

•     ส่วนหุ้นบางตัวนั้น อาจจะวิเคราะห์ด้วย EMA ดีกว่า SMA หรือ SMA ดีกว่า EMA นั้นขึ้นอยู่กับ ผู้เล่นหุ้นส่วนใหญ่ของตัวนั้น จะใช้ เส้นอะไร ดู เพราะจากมุมมองที่เหมือนกัน จึง ทำให้เกิดสัญญาณ ที่เหมือนกัน จนเป็น ความแม่นยำที่เกิดขึ้นก็เป็นได้


 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น